top of page
Search

หนังสือ 3 ปกเครื่องดื่มร้อนๆ จะได้เข้าใจลูกค้ายิ่งขึ้น!!

Updated: Nov 26, 2021

นานๆ โผล่มาที เลยขอแชร์หนังสือน่าอ่าน 3 เล่ม

มาให้ชุดใหญ่ ด้วยธีม #เครื่องดื่มร้อน จากภาพหน้าปก ขอไล่จากขวาไปซ้าย ในภาพแรกรวม 3 เล่มนะ

📖 เล่มแรก คือ The Why Cafe คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง เป็นหนังสือแปลสายฝรั่ง จากค่าย Be(ing)

.

📖 เล่มที่ 2 เป็นของ อ.เกตุ แห่ง facebook เพจ เกตุวดี Marumura ชื่อว่า โอโมเตนาชิ จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น ของ We Learn

.

📖 เล่มที่ 3 เล่มสุดท้าย คือ โกโก้อุ่นไอกับคุณในวันพฤหัสฯ เป็นหนังสือแปลภาษาญี่ปุ่น จากฝั่ง piccolo

.

👉 ทั้งสามเล่ม เวลาอ่านแล้ว ถ้าคุณคิดตามแต่ละตัวละคร แต่ละตัวหนังสือ สิ่งที่คุณจะได้ คือ วิธีการคิด วิธีการมอง ในมุมของเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่ทำไมหนอ ทำไมล่ะเนี่ย “ตัวเราเอง” กับ “ตัวเดินเรื่อง” ในหนังสือ คิดไม่เหมือนกัน หรืออาจจะเหมือน แล้วเหตุผลใส่ในที่เป็น core หรือแก่นมันคืออะไรกันแน่เนี่ย

มาดูเล่มแรกกันดีกว่า หนังสือ The Why Cafe คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง เป็นการแบ่งเนื้อเรื่องของตัวละคร 1 คน กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่เจอเรื่องชวนปวดหัวสารพัด จนอยากลาพักร้อนยาวไป ยาวไป เพื่อชาร์จแบตพลังชีวิตให้ตัวเอง แต่ก็มาเจอคาเฟ่แห่งนี้ที่ทำให้เค้าได้เจอมุมมองวิธีคิดใหม่ๆ จากคำถามที่เราเอง บางทีก็ไท่เคยมีคำตอบให้สักที 3 คำถามในเล่มคืออะไร ตามไปอ่านกันเองนะ

.

⭐ แล้วนักการตลาดจะเข้าลูกค้าได้ยังไงหรอ?

.

หนังสือเล่มนี้เล่าวิธีคิดของลูกค้า จากประสบการณ์ที่ลูกค้าพบเจอ ทั้งเรื่องดีและเรื่องแย่ นี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องเข้าใจเลย ว่าพื้นเพพื้นฐานของแต่ละคนต่างกัน ทำให้การคิดของแต่ละคน คิดกันไปคนละทางสองทางได้ ไม่ต้องแปลกใจเลยแหละ

ว่าเรื่องเดียวกันจะถูกตีความไม่เหมือนกัน ยิ่งความต้องการซื้อสินค้าและรับบริการ งานนี้ไม่แปลกเลยที่ Segment of One หรือ Personalized Service ถึงฮิตมากมาย เพราะฉันไม่เหมือนใคร และก็ไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องเหมือนฉัน จริงมั้ยล่ะครับ

มาดูเล่มที่ 2 กันบ้าง ชื่อ โอโมเตนาชิ ต่อกันเลย เล่มนี้ที่พยายามขยาย 4 องค์ประกอบสำคัญของการสร้างสิ่งนี้ ที่ประกอบไปด้วย การบริการที่ทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การเท่าเทียมกันระหว่างคนให้บริการและคนรับบริการการดูแลแต่ละคนตามในแบบที่ไม่เหมือนกัน และสิ่งสำคัญสุดๆ คือ การเห็นคุณค่าในงานที่เรากำลังทำอยู่นั่นเอง

.

⭐ แล้วนักการตลาดจะเข้าลูกค้าได้ยังไงหรอ?

.

ขอยกประโยคเด็ดที่เขียนไว้ในหน้า 232 สั้นประโยคเดียว I am one of the customers. ถ้าเราเป็นลูกค้าจะต้องการกรรบริการแบบไหน แน่นอนว่าเราจะส่งมอบการบริการที่พวกเราเองก็อยากได้รับ และอีกประโยค จากหน้า 228 “ผู้นำมาก่อน…ผู้นำต้องมีความสุขในการทำโอโมเตนาชิก่อนผู้อื่นนะคะ”

.

และอีกอย่างที่ผู้เขียน ระบุไว้ตั้งแต่บทนำแรกๆ เลย ซึ่งอยากให้เข้าใจก่อนอ่านเล่มนี้ ในหน้า 30 ข้อ 2 เขียนว่า “ไม่ได้หมายความว่าการบริการของญี่ปุ่นดีกว่าการบริการของไทย”

มาถึงตรงนี้ เล่มสุดท้ายของคอนเทนต์นี้ หนังสือ โกโก้อุ่นๆ กับคุณในวันพฤหัสฯ เล่าเรื่องราวตัวละครที่เชื่อมโยงต่อกัน ทีละตอน ถ้าคุณอ่านจบ คุณจะเชื่อมเรื่องราวได้ทั้งหมด ว่าแต่ละคนไปเกี่ยวกับใคร ด้วยความสัมพันธ์แบบไหน และทำไมเหตุการณ์ถึงเกิดที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น กับ 12 ตอนที่จะพาคุณอยู่ในโตเกียวและซิดนีย์

.

⭐ แล้วนักการตลาดจะเข้าลูกค้าได้ยังไงหรอ?

.

keyword ของหนังสือเล่มอยู่ในเล่มเลย ถ้าคุณอ่านไป 12 ตอนแล้วยังไม่เข้าใจ ส่วนท้ายเล่มที่เขียนว่า “คำตาม” (เพราะมันอยู่ท้ายเล่ม เลยไม่ใช่คำนำ) สรุปไว้ให้คุณ ภายใต้ความแตกต่างของลูกค้า 1 คน ใครจะไปรู้ว่าถ้าเราเอาไปรวมกับความต่างของอีกคน อาจจะสิ่งใหม่ที่สุดยอดขึ้นมาก็ได้ หรือได้สูตรการบริการหรือสินค้าชิ้นใหม่ที่เริ่ดเลอก็เป็นได้ และอย่าลืมคุณไม่ใช่ยางลบทางคิดของลูกค้า ที่คุณจะพยายามตะบี้ตะบันลบความคิดให้ได้ แต่คุณควรเป็นปากกาไฮไลท์สีของลูกค้า ที่คอยขีดย้ำเตือนว่า ไม่ว่าโลกนี้จะเปลี่ยนไปแค่ไหน...ตัวเรามีหน้าที่ยอมรับความคิดนั้น และหาทางเข้าใจอย่างใส่ใจบนความคิดนั้นให้ได้นั่นเอง

.

🔎 ขอย้ำประเด็นสำคัญสุดท้ายฝากไว้ในโพสต์นี้

“อย่าพยายามทำตัวให้เป็น #ยางลบทางคิดของลูกค้า ที่คุณจะพยายามตะบี้ตะบันลบความคิดให้ได้

แต่คุณควรเป็น #ปากกาไฮไลท์สีของลูกค้า

ที่คอยเน้นย้ำเตือนว่า ไม่ว่าโลกนี้จะเปลี่ยนไปแค่ไหน

เรามีหน้าที่ยอมรับความคิดนั้น…และหาทางเข้าใจอย่างใส่ใจบนความคิดนั้นให้ได้นั่นเอง”

28 views

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page